วันพฤหัสบดีที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2559

โครงสร้างพื้นฐานของ HTML


โครงสร้างพื้นฐานของ HTML 
                โครงสร้างของ HTML จะประกอบไปด้วยส่วนของคำสั่ง 2ส่วน คือ ส่วนที่เป็น ส่วนหัว (Head) และส่วนที่เป็นเนื้อหา (Body) โดยมีรูปแบบคำสั่งดังนี้
 
การจัดโครงสร้างแฟ้มเอกสาร
                 ในความง่ายของภาษา HTML นั้นเพราะภาษานี้ไม่มีโครงสร้างใด ๆ มากำหนดนอก จากโครงสร้างพื้นฐานเท่านั้น หรือ แม้แต่จะไม่มีโครงสร้าง พื้นฐานอยู่ โปรแกรมที่เขียนขึ้นมานั้นก็สามารถทำงานได้เสมือนมี โครงสร้างทั่งนี้เป็นเพราะว่าตัวโปรแกรมเว็บเบราเซอร์ จะมองเห็นทุกสิ่งทุกอย่างในโปรแกรม HTML เป็นส่วนเนื้อหาทั้งสิ้น
                  ยกเว้นใน ส่วนหัว ที่ต้อง มีการกำหนด แยกออกไปให้ เห็นชัดเท่านั้น จะเขียน คำสั่ง หรือ ข้อความที่ ต้องการ ให้แสดง อย่างไรก็ได้ เป็นเสมือนพิมพ์งานเอกสารทั่ว ๆ ไปเพียง แต่ ทำตำแหน่ง ใดมีการ ทำตำแหน่ง พิเศษขึ้นมา เว็บเบราเซอร์ถึงจะแสดงผล ออกมาตามที่ ถูกกำหนด โดยใช้คำสั่งให้ตรงกับ รหัสที่กำหนดเท่านั้น



การแสดงผลที่เว็บเบราเซอร์
                   หลังจากมีการพิมพ์โปรแกรมนี้เสร็จเรียบร้อยแล้ว ให้บันทึกเป็น ไฟล์ที่มีนามสกุล .htm หรือ .html จากนั้นให้เรียกโปรแกรมเว็บเบราเซอร์ขึ้นมาทำการทดสอบ ข้อมูลที่เราสร้างจะถูก นำมาที่ออกมาแสดงที่จอภาพ ถ้าไม่เขียนอะไรผิด บนจอภาพก็จะแสดงผลตามนั้น ถ้าเรามีการปรับปรุงแก้ไขข้อมูลในโปรแกรมเดิม ให้อยู่ในรูปของ โปรแกรมใหม่ ก็จำ เป็นต้องโหลดโปรแกรมขึ้นมาใหม่ เพียงแต่เลื่อนเมาส์
ไปคลิกที่ปุ่ม Refresh โปรแกรมก็จะทำการ ประมวลผลและแสดงผลออกมาใหม่ ในคำสั่ง HTML ส่วนใหญ่ใช้ตัวเปิด เป็นเครื่องหมายน้อยกว่า < ตามด้วยคำสั่ง และปิดท้ายด้วยเครื่องหมายมากกว่า > และมีตัวปิดที่มีรูปแบบเหมือนตัวเปิดเสมอ เพียงแต่จะมีเครื่อง หมาย / อยู่หน้าคำสั่งนั้นๆ เช่น คำสั่ง <BODY> จะมี </BODY> เป็นคำสั่งปิด เมื่อใดที่ผู้เขียนลืมหรือพิมพ์คำสั่งผิด จะส่งผลให้การทำงานของโปรแกรมผิดพลาดทันที

คำสั่งเริ่มต้นสำหรับ HTML
                    คำสั่งหรือ Tag ที่ใช้ในภาษา HTML ประกอบไปด้วยเครื่องหมายน้อยกว่า <ตามด้วย ชื่อคำสั่งและปิดท้ายด้วยเครื่องหมายมากกว่าเป็นส่วนที่ทำหน้าที่ตกแต่งข้อความ เพื่อ การแสดงผลข้อมูล โดยทั่วไปคำสั่งของ HTML ส่วนใหญ่จะอยู่เป็นคู่ มีเพียงบาง คำสั่งเท่านั้น ที่มีรูปแบบคำสั่งอยู่เพียงตัวเดียว ในแต่ละคำสั่ง จะมีคำสั่งเปิดและปิด คำสั่งปิดของแต่ละ คำสั่งจะมี รูปแบบเหมือนคำสั่งเปิด เพียงแต่จะเพิ่ม /
(Slash) นำหน้าคำสั่ง ปิดให้ดู แตกต่าง เท่านั้น และในคำสั่งเปิดบางคำสั่ง อาจมีส่วนขยายอื่นผสมอยู่ด้วย ในการเขียน ด้วยตัวอักษร เล็กหรือใหญ่ ทั้งหมดหรือเขียนปนกันก็ได้ ไม่มีผลอะไร

คำสั่งเริ่มต้น
รูปแบบ   <HTML>.....</HTML>
คำสั่ง <HTML> เป็นคำสั่งเริ่มต้นในการเขียนโปรแกรม และ</HTML>เป็นคำสั่งจุดสิ้นสุดโปรแกรมเหมือนคำสั่ง Beign และ End ในPascal

คำสั่งการทำหมายเหตุ
รูปแบบ <!-- ..... -->
ตัวอย่าง <!-- END WEBSTAT CODE -->   ข้อความที่อยู่ในคำสั่งจะปรากฎอยู่ในโปรแกรมแต่ไม่ถูกแสดง บนจอภาพ


ส่วนหัว
รูปแบบ <HEAD>.....</HEAD>
ใช้กำหนดข้อความ ในส่วนที่เป็น ชื่อเรื่อง ภายในคำสั่งนี้ จะมีคำสั่งย่อย อีกหนึ่งคำสั่ง คือ <TITLE>
  
กำหนดข้อความในไตเติลบาร์
รูปแบบ <TITLE>.....</TITLE>
ตัวอย่าง <TITLE> บทเรียน HTML </TITLE>
เป็นส่วนแสดงชื่อของเอกสาร จะปรากฎ ขณะที่ไฟล์ HTML ทำงานอยู่ ข้อความ ที่กำหนด ในส่วนนี้ จะไม่ถูกนำไปแสดง ผลของ เว็บเบราเซอร์แต่จะปรากฎในส่วนของไตเติบาร์ (Title bar) ที่เป็นชื่อของวินโดว์ข้างบนไม่ควรให้ยา เกินไป เพียงให้รู้ว่าเว็บเพจที่กำลัง ใช้งานอยู่เกี่ยวข้องกับอะไร

ส่วนของเนื้อหา
รูปแบบ <BODY>.....</BODY>
ส่วนเนื้อหาของโปรแกรมจะเริ่มต้นด้วย คำสั่ง <BODY> และจบลงด้วย</BODY> ภายในคำสั่งนี้ คือ ส่วนที่จะ แสดงทางจอภาพ 

 ที่มา : https://sites.google.com/site/class0223/learnhtml

โดเมนเนม (domain name) คืออะไร

โดเมนเนม (domain name) คืออะไร


โดเมนเนม ความหมายโดยทั่วๆ ไป หมายถึง ชื่อเว็บไซต์ ชื่อบล็อก ซึ่งเป็นชื่อที่ตั้งขึ้นเพื่อให้จดจำและนำไปใช้งานได้ง่ายทั้งในการเข้าชมผ่านบราวเซอร์ของผู้ใช้ทั่วไป ยังรวมไปถึงผู้ดูแลระบบโดเมนเนมซีสเทม ที่สามารถแก้ไขไอพีแอดเดรสของชื่อโดเมนเนมนั้นๆ ได้ทันทีโดยที่ผู้ใช้ทั่วไปไม่จำเป็นต้องรับรู้หรือจดจำไอพีแอดเดรสที่มีการเปลี่ยนแปลง เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่เผยแพร่เว็บไซต์ จะมีโดนเมนเนมเฉพาะไม่ซ้ำกับใคร
โดนเมนเนม มีด็อทอยู่หลายประเภทแต่ที่นิยมมากที่สุดนั้นก็คือ .comเพราะเป็นด็อทในยุคแรกๆ ที่เริ่มใช้กัน และง่ายต่อการจดจำ

ประเภทของ Domain Name แบ่งได้เป็น ประเภท
  1.  โดเมน ระดับ   ชื่อโดเมน . ประเภทของโดเมน
  2.  โดเมน ระดับ   ชื่อโดเมน . ประเภทของโดเมน . ประเทศ

โดนเมนเนม ระดับ
จะประกอบด้วย  www . ชื่อโดเมน . ประเภทของโดเมน เช่นwww.b2ccreation.com
ประเภทของโดเมน คือ คำย่อขององค์กร โดยประเภทขององค์กรที่พบบ่อย มีดังต่อไปนี้
    * .com คือ บริษัท หรือ องค์กรพาณิชย์
    * .org คือ องค์กรเอกชนที่ไม่แสวงผลกำไร
    * .net คือ องค์กรที่เป็นเกตเวย์ หรือ จุดเชื่อมต่อเครือข่าย
    * .edu คือ สถาบันการศึกษา
    * .gov คือ องค์กรของรัฐบาล
    * .mil คือ องค์กรทางทหาร
  
โดนเมนเนม ระดับ  
จะประกอบด้วย www . ชื่อโดเมน . ประเภทของโดเมน . ประเทศ เช่นwww.kmitnb.ac.th, www.nectec.or.th, www.google.co.th
ประเภทขององค์กรที่พบบ่อยคือ
    * .co คือ บริษัท หรือ องค์กรพาณิชย์
    * .ac คือ สถาบันการศึกษา
    * .go คือ องค์กรของรัฐบาล
    * .net คือ องค์กรที่ให้บริการเครือข่าย
    * .or คือ องค์กรเอกชนที่ไม่แสวงผลกำไร

ตัวย่อของประเทศที่ตั้งขององค์กร
    * .th   คือ ประเทศไทย
    * .cn  คือ ประเทศจีน
    * .uk  คือ ประเทศอังกฤษ
    * .jp   คือ ประเทศญี่ปุ่น
    * .au  คือ ประเทศออสเตรเลีย
  
โดนเมนเนม ถือเป็นสิ่งสำคัญอันดับแรกที่มองข้ามไม่ได้เลยสำหรับเว็บไซต์นั้นๆ โดยเฉพาะกับการโฆษณาบนอินเตอร์เน็ท ถ้าได้ชื่อที่เฉพาะเจาะจง ตรงกับกลุ่มเป้าหมายที่มีความสนใจเป็นพื้นฐานเดิมอยู่แล้วนั้น จะทำให้โดเมนเนม หรือ เว็บไซต์นั้นๆ จะได้รับความสนใจและเป็นที่จดจำได้ง่ายไม่ใช่กับผู้เข้าชมหรือ
กลุ่มเป้าหมายที่เข้ามาชมเว็บไซต์ผ่านโดมเนมเท่านั้นยังรวมไปถึงSearch Engine ชื่อดังต่างๆ เช่น Google Yahoo MSN เป็นต้น ที่จะเข้ามาแวะเวียนเข้ามาทำ index กับเว็บเพจหน้าต่างๆ ในเว็บไซต์ของเรา
          หลังจากจดโดนเมนเนมเป็นที่เรียบร้อยแล้ว สิ่งสำคัญลำดับถัดมานั้นก็คือ โฮสติ้ง (Hosting) หรือ ที่เก็บข้อมูลเว็บไซต์ของเรานั้นเอง ซึ่งโฮสติ้งแต่ละที่จะมี DNS หรือ Name Server ที่ทางผู้ให้บริการโฮสติ้ง จะเป็นคนกำหนดและแจ้งให้เราทราบเพื่อเอาไปใส่ให้โดมเมเนมของเรา

ที่มา : http://www.b2ccreation.com/content/knowledgebase/kb_view.asp?kbid=19

" PHP "

" PHP "



PHP คืออะไร     
            PHP นั้นเป็นภาษาสำหรับใช้ในการเขียนโปรแกรมบนเว็บไซต์ สามารถเขียนได้หลากหลายโปรแกรมเช่นเดียวกับภาษาทั่วไป อาจมีข้อสงสัยว่า ต่างจาก HTML อย่างไร คำตอบคือ HTML นั้นเป็นภาษาที่ใช้ในการจัดรูปแบบของเว็บไซต์ จัดตำแหน่งรูป จัดรูปแบบตัวอักษร หรือใส่สีสันให้กับ เว็บไซต์ของเรา แต่ PHP นั้นเป็นส่วนที่ใช้ในการคำนวน ประมวลผล เก็บค่า และทำตามคำสั่งต่างๆ อย่างเช่น รับค่าจากแบบ form ที่เราทำ รับค่าจากช่องคำตอบของเว็บบอร์ดและเก็บไว้เพื่อนำมาแสดงผลต่อไป แม้แต่กระทั่งใช้ในการเขียน CMS ยอดนิยมเช่นDrupal , Joomla พูดง่ายๆคือเว็บไซต์จะโต้ตอบกับผู้ใช้ได้ ต้องมีภาษาPHP ส่วน HTML หรือ Javascript ใช้เป็นเพียงแค่ตัวควบคุมการแสดงผลเท่านั้น

นอกจากภาษา PHP แล้วยังมีภาษาอื่นอีกหรือไม่
           คำตอบคือมีครับ เช่น ASP , JSP แต่ที่นิยมมาก คือ PHP เพราะเป็นภาษาที่สามารถศึกษาได้ง่าย ทำงานได้มีประสิทธิภาพ ทำให้เป็นที่นิยมอย่างยิ่งในปัจจุบัน รวมทั้งมีชุมชนคนใช้งาน และคู่มือที่ ดีมาก และสำคัญสุดคือฟรีครับ การใช้งานภาษา PHP ไม่ต้องมีค่าใช้จ่ายใดๆทั้งสิ้น ทุกคนสามารถเข้าถึงได้

การจะเขียน PHP ต้องมีอะไรบ้าง
          PHP นั้นจำเป็นจะต้องมีการประมวลผลดังนั้นการใช้งานเราจะต้องมี Web Server เพื่อให้ตัว PHP สามารถทำงานได้ ต่างจาก HTMLเราจะต้องลงโปรแกรม ให้เครื่องที่เราใช้งานอยู่นั้นทำงานเหมือนกับWeb Server ซะก่อนซึ่งโปรแกรมนั้นชื่อว่า Apache   หลังจากที่เราทำให้เครื่องของเรานั้นเหมือนกับ Web Server แล้วจะเก็บข้อมูลเว็บไซต์เช่น คำตอบของเว็บบอร์ด จะเก็บอย่างไร คำตอบคือต้องมีโปรแกรมฐานข้อมูลอีกตัวเข้ามาช่วย ซึ่งโปรแกรมที่แนะนำคือMySQL ครับฟรีอีกเช่นกัน 

การพัฒนาเว็บไซต์ด้วย PHP
           สำหรับผู้พัฒนาเว็บไซต์ด้วย PHP นั้นปรกติจะทำการจำลองเครื่องของตัวเองให้เป็น Web Server ระหว่างการพัฒนาเพื่อดูการทำงาน ของโปรแกรมที่เขียนขึ้นมาครับ จากนั้นจึงจะอัพไฟล์ทั้งหมดลงใน Web Server จริง ในส่วนของ Web Server นั้นทาง Hellomyweb 

HTML



HTML




      " HTML " คือ ภาษาหลักที่ใช้ในการเขียนเว็บเพจ โดยใช้ Tagในการกำหนดการแสดงผล HTML ย่อมาจากคำว่า Hypertext Markup Language โดย Hypertext หมายถึง ข้อความที่เชื่อมต่อกันผ่านลิ้ง (Hyperlink) Markup language หมายถึงภาษาที่ใช้ Tag ในการกำหนดการแสดงผลสิ่งต่างๆที่แสดงอยู่บนเว็บเพจ ดังนั้น HTML จึงหมายถึง ภาษาที่ใช้ Tag ในการกำหนดการแสดงผลเว็บเพจที่ต่างก็เชื่อมถึงกันใน Hyperspace ผ่าน Hyperlink นั่นเอง
      ความเป็นมาของ HTML เริ่มขึ้นเมื่อปี 1980 เมื่อ Tim Berners Leeเสนอต้นแบบสำหรับนักวิจัยใน CERN เพื่อแลกเปลี่ยนเอกสาร ข้อมูลด้านการวิจัย โดยใช้ชื่อว่า Enquire ในปี 1990 เค้าได้เขียนโปรแกรมเบราเซอร์ และทดลองรันบนเซิฟเวอร์ที่เค้าพัฒนาขึ้น HTML ได้รับการรู้จักจาก HTML Tag ซึ่งมีอยู่ 18 Tag ในปี 1991 


      HTML ถูกพัฒนาจาก SGML และ Tim ก็คิดเสมือนว่า HTMLเป็นโปรแกรมย่อยของ SGML อยู่ในตอนนั้น ต่อมาในปี 1996 เพื่อกำหนดมาตรฐานให้ตรงกัน W3C World Wide Web Consortium จึงเป็นผู้กำหนดสเปกทั้งหมดของ HTML และปี 1999 HTML 4.01 ก็ถือกำเนิดขึ้น โดยมี HTML 5 ซึ่งเป็น Web Hypertext Application ถูกพัฒนาต่อมาในปี 2004 นอกจากนี้ยังมีการพัฒนาไปเป็น XHTML ซึ่ง คือ Extended HTML ซึ่งมีความสามารถและมาตรฐานที่รัดกุมกว่าอีกด้วย โดยอยู่ภายใต้การควบคุมของ W3C (World Wide Web Consortium)

     โครงสร้างคำสั่งของ HTML

       การใช้งาน 
1.         คำสั่ง หรือ Tag
   Tag เป็นลักษณะเฉพาะของภาษา HTML ใช้ในการระบุรูปแบบคำสั่ง หรือการลงรหัสคำสั่ง HTML ภายในเครื่องหมาย less-than bracket ( < ) และ greater-than bracket ( > ) โดยที่ Tag HTML แบ่งได้ 2 ลักษณะ คือ
  1. Tag เดี่ยว     เป็น Tag ที่ไม่ต้องมีการปิดรหัส เช่น <HR>, <BR>เป็นต้น
  2. Tag เปิด/ปิด     รูปแบบของ tag นี้จะเป็นแบบ <tag> .... </tag>โดยที่ <tag> เราเรียกว่า tag เปิด และ </tag> เราเรียกว่า tag ปิด
    Attributes
 Attributes เป็นตัวบอกรายละเอียดของ tag นั้นเช่น <span align = 'left'> ... </span> เป็นการบอกว่าให้อักษรที่อยู่ใน tag นี้ชิดซ้าย
3. not case sensitive  หมายถึง คุณจะพิมพ์ <BR> หรือ <br> ก็ได้ ผลลัพธ์ออกมาไม่ต่างกัน

โครงสร้างของหลักของ HTML 


โครงสร้างหลักของ HTML ก็จะเริ่มด้วย <html> และจบด้วย</html> เสมอ ซึ่งชุดคำสั่งที่ใช้จะแยกเป็น 2 ส่วนคือ
1. head คำสั่งที่อยู่ในส่วนนี้จะใช้บรรยายรายละเอียดเกี่ยวกับweb page ซึ่งจะไม่แสดงผลที่ web page โดยตรง

      2. body คำสั่งที่อยู่ในส่วนนี้จะใช้ในการจัดรูปแบบตัวอักษร จัดหน้า ใส่รูปภาพ ซึ่งตัวอักษรในส่วนนี้จะแสดงที่ web brower โดยตรง

1.    คำสั่งในหัวข้อของ head (Head Section)
         Head Section เป็นส่วนที่ใช้อธิบายเกี่ยวกับข้อมูลเฉพาะของหน้าเว็บนั้นๆ เช่น ชื่อเรื่องของหน้าเว็บ (Title), ชื่อผู้จัดทำเว็บ (Author),คีย์เวิร์ดสำหรับการค้นหา (Keyword) โดยมี Tag สำคัญ คือ

TITLE
         ข้อความที่ใช้เป็น TITLE ไม่ควรพิมพ์เกิน 64 ตัวอักษรไม่ต้องใส่ลักษณะพิเศษ เช่น ตัวหนาเอียง หรือสี โดยข้อความในส่วนนี้จะแสดงผลใน title bar ของ web browser

META

       Tag META จะไม่ปรากฏผลบนเบราเซอร์ แต่จะเป็นส่วนสำคัญ ในการจัดอันดับบัญชีเว็บ สำหรับผู้ให้บริการสืบค้นเว็บ (Search Engineเช่น google , yahoo)

    charset=TIS-620 ใช้บอกว่าใช้ชุดตัวอักษรแบบใดในการแสดงผล ภาษาไทยเราใช้ charset=TIS-620 หรืออาจเป็น charset=windows-874ก็ได้ ตอนนี้แนะนำให้ใช้เป็น charset=utf-8 


     keyword ดังภาพด้านบนจะเห็นว่าเราสามารถใช่ keywords มากกว่าคำได้โดยใช้เครื่องหมาย (,) ในการคั่นระหว่างคำ


    การพิมพ์ชุดคำสั่ง HTML สามารถพิมพ์ได้ทั้งตัวพิมพ์เล็ก ตัวพิมพ์ใหญ่ หรือผสม การย่อหน้า เว้นบรรทัด หรือช่องว่าง สามารถกระทำได้อิสระ โปรแกรมเบราเซอร์จะไม่สนใจเกี่ยวกับระยะเว้นบรรทัดหรือย่อหน้า หรือช่องว่าง


2. คำสั่งในส่วนของ (Body Section)


        Body Section เป็นส่วนเนื้อหาหลักของหน้าเว็บ ซึ่งการแสดงผลจะต้องใช้ Tag จำนวนมาก ขึ้นอยู่กับลักษณะของข้อมูล เช่น ข้อความ,รูปภาพเสียงวีดิโอ หรือไฟล์ต่างๆ


        ส่วนเนื้อหาเอกสารเว็บ เป็นส่วนการทำงานหลักของหน้าเว็บ ประกอบด้วย Tag มากมายตามลักษณะของข้อมูล ที่ต้องการนำเสนอ การป้อนคำสั่งในส่วนนี้ ไม่มีข้อจำกัดสามารถป้อนติดกัน หรือ 1บรรทัดต่อ คำสั่งก็ได้ แต่มักจะยึดรูปแบบที่อ่านง่าย คือ การทำย่อหน้าในชุดคำสั่งที่เกี่ยวข้องกัน ทั้งนี้ให้ป้อนคำสั่งทั้งหมดภายใต้Tag <BODY> </BODY> และแบ่งกลุ่มคำสั่งได้ดังนี้
  • กลุ่มคำสั่งเกี่ยวกับการจัดรูปแบบเอกสาร
  • กลุ่มคำสั่งจัดแต่ง/ควบคุมรูปแบบตัวอักษร
  • กลุ่มคำสั่งการทำเอกสารแบบรายการ (List)
  • กลุ่มคำสั่งเกี่ยวกับการทำลิงค์
  • กลุ่มคำสั่งจัดการรูปภาพ
  • กลุ่มคำสั่งจัดการตาราง (Table)
  • กลุ่มคำสั่งควบคุมเฟรม
  • กลุ่มคำสั่งอื่นๆ















    ที่มา : http://srp29749.blogspot.com/

    การจัดรูปแบบเอกสาร


    การจัดรูปแบบเอกสาร

               การจัดรูปแบบของเอกสาร HTML โดยโปรแกรม notepad จะไม่เหมือนกับการจัดในเอกสารื่น เช่น เอกสาร Microsoft word คือ เมื่อต้องการขึ้นบรรทัดใหม่ ในเอกสาร Microsoft word จะใช้ ปุ่ม Enter แต่ในเอกสาร HTML การใช้โปรแกรม notepad เมื่อใช้ปุ่ม Enter ข้อความในเอกสารก็จะเรียงต่อกันไปเรื่อย ๆ  ไม่ทำการขึ้นบรรทัดใหม่ให้ เนื่องจากภาษา HTML ไม่สามารถรับรู้ได้ว่าจะมีการขึ้นบรรทัดใหม่ ดังนั้น จึงต้องมีคำสั่งสำหรับสั่งการให้ขึ้นบรรทัดใหม่ จะให้ผลเสมือนการกดEnter บนคีย์บอร์ด ของเอกสาร Microsoft word ทั่งไป
                    ในการจัดย่อหน้า และการเว้นวรรคก็ตามในภาษา HTML เช่นเดียวกัน จำเป็นต้องมีคำสั่งสำหรับการจัดรูปแบบเอกสาร HTML ด้วย เช่น การสั่งให้มีการเว้นวรรคของข้อความ ภาษา HTMLจะสามารถรับรู้การเว้นวรรคไดเพียง 1 วรรคเท่านัน
                   เพื่อให้การจัดรูปแบบเอกสาร HTML เรียบร้อย เป็นระเบียบและสวยงาม จึงจำเป็นในการเรียนรู้คำสั่งสำหรับการจัดรูปแบบหน้าเอกสาร




    3.1 การขึ้นบรรทัดใหม่ (Break)

           คำสั่งแรกในการจัดรูปแบบเอกสาร ในภาษา HTML คือ การขึ้นบรรทัดใหม่ จะใช้คำสั่ง <br> จะให้ผลเสมือนการกด Enter บนคีย์บอร์ด 
         คำสั่ง <br> ส่วนใหญ่มักนิยมจะวางไว้ในตำแหน่งสุดท้ายของประโยค โดยต้องการให้แสดงผลประโยคใหม่ในบรรทัดต่อมา คำสั่ง<br> จะเป็นคำสั่งที่ไม่ต้องมีคำสั่งปิด (Single Tag)

    3.2 การจัดย่อหน้า
    การจัดย่อหน้าในเอกสาร HTML จะใช้คำสั่ง <p> เป็นคำสั่งที่สั่งให้โปรแกรมเว็บเบราเซอร์ขึ้นย่อหน้าใหม่ (paragraph)
    คำสั่ง <p> จะเป็นการจัดเอกสารขึ้นบรรทัดใหม่เช่นเดียวกับการใช้คำสั่ง <br> แต่จะแตกต่างที่ช่องว่างระหว่างบรรทัดมากกว่าคำสั่ง<br> และสามารถกำหนดหารเยื้องของข้อความในบรรทัดโดยใช้คำสั่ง<dd> วางหน้าข้อความที่ต้องการให้เยื้องหน้า หรือใช้ร่วมกับและมีการจัดย่อหน้า คำสั่ง <br>  หรือคำสั่ง <p> ได้

    3.3 การจัดตำแหน่งในหน้าเอกสาร
           การใส่ข้อความ หรือรูปภาพในหน้าเอกสาร HTML นั้น หากไม่มีการจัดหน้าเอกสาร ข้อความหรือรูปภาพต่าง ๆ จะชิดด้านซ้ายตลอด ดังนั้น เพื่อความเป็นระเบียบและความสวยงามของเอกสารจึงต้องจัดตำแน่งของข้อความ หรือรูปภาพตามความเหมาะสม
                    การจัดตำแหน่งของเอกสารเพื่อการแสดงผลทางจอภาพ จะใช้คำสั่ง <p> และตามด้วยคุณสมบัติ (attribute) align ดังนี้

    <p align="left/right/center"> ข้อความ/รูปภาพ </p>

    การที่จะให้ข้อความหรือรูปภาพอยู่ชิดซ้าย กึ่งกลางและชิดขวานั้น จะต้องมีคุณสมบัติ (attribute) การจัดตำแหน่งของการแสดงผล ดังนี้
    align = "left"      การกำหนดค่าของการจัดตำแหน่งการแสดงผลอยู่ทางซ้าย
         align = "right"    การกำหนดค่าของการจัดตำแหน่งการแสดงผลอยู่ทางขวา
         align = "center" การกำหนดค่าของการจัดตำแหน่งการแสดงผลอยู่ตรงกลาง
    ทดสอบการจัดตำแหน่ง

          ในการจัดตำแหน่งการแสดงผลข้อความหรือรูปภาพให้อยู่กึ่งกลางของจอภาพ สามารถกำหนดด้วยคำสั่ง center ได้ จะแสดงผลเช่นเดียวกับคำสั่ง <p align="center"> เขียนคำสั่งดังนี้

    <center>..ข้อความ/รูปภาพ..</center>


    3.4 การเว้นวรรค
             เป็นคำสั่งช่วยให้เว้นวรรคระหว่างข้อความ เพราะปกติเบราเซอร์จะแสดงช่องว่างจากการเคาะ Space Bar เพียงช่องเดียวแม้ว่าจะเคาะหลายครั้ง ก็ตาม คำสั่งที่ใช้ในการเว้นวรรค คือ &nbsp;
              คำสั่ง &nbsp; ซึ่งเป็นหนึ่งในจำนวนรหัสใช้แทนอักษรพิเศษ ในภาษา HTML ใช้ประโยชน์สำหรับแทนตัวอักษรที่มีความหมายพิเศษ เช่น <, > อักษรพวกนี้จะไม่สามารถเขียนลงไปตรงๆ เพื่อให้ browserแสดง ทั้งนี้เพราะ browser จะรับรู้ว่าเป็น Tag ซึ่งอาจทำให้การแปลผิดพลาดได้
            
              ตัวอย่าง รหัสใช้แทนอักษรพิเศษอื่นๆ เช่น
                &lt; ใช้แทนตัว < (less than)
                &gt; ใช้แทนตัว > (greater than)
                &amp; ใช้แทนตัว & (ampersand)


    3.5 เส้นคั่นในแนวนอน
     ในการจัดรูปแบบเอกสาร นั้น เรายังสามารถนำเส้นมาช่วยตกแต่งเอกสารได้โยกำหนดให้เป็นเส้นคั่นในหน้าเอกสาร HTML เส้นที่จะใช้คือ เส้นขีดคั่นแนวนอน (Horizontal rule) ซึ่งอาจใช้เป็นเส้นแบ่งเนื้อหาระหว่างบท หรือเป็นเส้นขีดคั่นเพื่อความสวยงามและเป็นระเบียบของเนื้อหา ได้
     คำสั่งที่ใช้กำหนดเส้นคั่น จะเป็นคำสั่งที่ไม่ต้องมีคำสั่งปิด (Single Tag) คือคำสั่ง <hr> โดยคำสั่ง <hr> จะมีคุณสมบัติของคำสั่ง (Attribute) หลายตัว ดังนี้
     width       เป็นการกำหนดความยาวของเส้น มีหน่วยเป็น Pixelหรือ % ก็ได้
           align       เป็น การจัดวางตำแหน่งของเส้น
          size        เป็นการกำหนดขนาดความหนาของเส้นกำหนดเป็น pixel
           noshade      ไม่ต้องแสดงเป็นแบบ 3 มิติ
          color        เป็นการระบุสีของเส้น
         
         ตัวอย่าง
          <hr width="60 %">
          <hr width="80">
          <hr width="n" align="left/right/center" size="ขนาด (n)" noshade color="สี">